แผงโซล่าเซลล์ แบบไหนดี

ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) มีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ถือว่าเป็นที่ได้รับความนิยมที่กำลังมาแรงมากในขณะนี้ เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงสุดถึง 70% ขึ้นอยู่กับขนาดของการติดตั้งและกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ ซึ่งเคยสงสัยกันหรือไม่ทำไมติดตั้งโซล่าเซลล์จำนวนแผ่นเท่ากัน แต่ทำไมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้อาจจะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการรับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

วันนี้ NK Solar Group จึงไม่รอช้าที่จะพามาทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมแนะนำว่าการเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่จะช่วยทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้แบบเต็มๆ หากพร้อมแล้วเราไปดูข้อมูลกันได้เลย

แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) คืออะไร

แผงโซล่าเซลล์-คืออะไร

แผงโซล่าเซลล์ หรือมีอีกชื่อเรียกว่า solar panel (Photovoltaics) คือ แผงวงจรที่มีการนำเอาผลึกซิลิคอน (crystalline Silicon) ซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีมาจัดเรียงกันให้เป็นระเบียบ เพื่อให้สามารถดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์นั้นจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่มีทั้งขั้วบวก+ ขั้วลบ – ก่อนที่จะส่งผ่านไปยัง Inverter เพื่อแปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่ใช้งานได้ตามปกติ

ส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์ทํามาจากอะไร

ส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์

กว่าจะมาเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้เราได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแผงแบบคริสตัลไลน์, แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ และ แผงโพลีคริสตัลไลน์ ล้วนแต่มีส่วนประกอบดังนี้

  1. Glass เป็นกระจกใสจะอยู่ชั้นด้านบนสุด เพื่อให้แสงจากพระอาทิตย์ส่องผ่านไปยังเซลล์ได้ และช่วยป้องกันเศษวัตถุขนาดเล็กที่อาจตกกระทบสร้างความเสียหายต่อแผงภายในเช่น เศษหิน กรวด เป็นต้น
  2. EVA (Ethylene Vinyl Acetate) Film คือ ส่วนที่เป็นชั้นที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีหน้าที่ป้องกันเซลล์จากความชื้น และเพิ่มความแข็งให้กับเซลล์
  3. Solar Cells ที่ประกอบไปด้วยโซลาร์เซลล์หลายๆ เซลล์ ต่อกันแบบอนุกรม ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งโดยทั่วไป จะมีอยู่ที่ประมาณ 36 เซลล์ต่อ 1 แผง
  4. Fiberglass Cloth คือ ส่วนชั้นที่เสริมเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับแผงโซลาร์เซลล์
  5. EVA (Ethylene Vinyl Acetate) Film มีหน้าที่ทำหน้าที่เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันความชื้นให้กับแผงเช่นเดียวกับชั้นที่ 2
  6. PVF or Other Back Cover Film คือส่วนที่มีไว้ป้องกันชั้น EVA ชั้นล่างสุด ทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย

ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

  1. โซล่าเซลล์เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด ไม่มีวันหมดสามารถผลิตได้ตลอดตามอายุของแผง
  2. โซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่ ที่แสงแดดส่องถึง
  3. พลังงานจากโซล่าเซลล์คือพลังงานสะอาด ไม่ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และ มลพิษทางเสียง
  4. การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในช่วงกลางวัน
  5. โซล่าเซลล์เป็นมิตรกับโลก ไม่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  6. พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์มีความปลอดภัยสูง

แผงโซล่าเซลล์ มีกี่ชนิด เลือกใช้ประเภทไหนดี

แผงโซล่าเซลล์มีทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะ

โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

โมโนคริสตัลไลน์เป็นแผงโซล่าเซลล์ ผลิตมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือที่หลายคนอาจคุ้นในชื่อ single crystalline (single-Si) เป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นแท่งซิลิคอนแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีสีเข้มโดยมีเส้นสีเงินทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าวางเรียงกัน และลบมุมทั้งสี่ออกเพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์

  • เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้าสูงสุด
  • สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 16-21 % ให้พลังงานไฟฟ้าที่สูง
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น
  • มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์

  • มีราคาที่สูงกว่าชนิดอื่น
  • หากมีความคราบสกปรกหรือถูกบังแสงอาจทำให้การผลิตไฟฟ้าลดลง

โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพลองลงมาจากแผงโมโนคริสตัลไลน์ โดยมีการนำซิลิคอนมาหลอมละลายเพื่อเป็นต้นกำเนินของการผลิตไฟฟ้า แต่มีวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน และใช้ซิลิคอนจำนวนน้อยกว่าแผงแบบ Monocrystalline จึงทำให้โครงสร้างของผลึกสมบูรณ์น้อยกว่า แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ส่งผลทำให้แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีราคาต่ำกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิด mono-Si

Solar Panels แบบ poly

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์

  • มีราคาถูกกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิด mono-Si
  • มีประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าในที่ที่มีอุณหภูมิสูง

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์

  • มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 15-18 % ซึ่งต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  • ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าเพื่อให้ได้กำลังผลิตที่เท่ากับการติดตั้งด้วยแผงชนิด mono-Si

อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous)

แผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัสซิลิคอน หรือมีอีกชื่อว่าฟิล์มบาง เป็นการนำซิลิคอนมามาฉาบเป็นฟิล์มบาง ๆ ซ้อนกันหลายๆ ชั้น เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ที่มาจากซิลิคอนเพื่อแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า แต่แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% เท่านั้น ส่วนมากจะถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา เป็นต้น

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบอะมอร์ฟัสซิลิคอน (ฟิล์มบาง)

  • มีราคาถูกกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบอะมอร์ฟัสซิลิคอน (ฟิล์มบาง)

มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟได้ต่ำที่สุด

  • มีอายุการใช้งานไม่ยาวนาน

แผงโซล่าเซลล์ มีกี่วัตต์ กี่ขนาด

ขนาดและวัตต์-ของ-แผงโซล่าเซลล์

ก่อนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการติดตั้ง เช่น ติดบนหลังคาที่พักอาศัย, ติดตั้งบนพื้นดิน, ติดตั้งสำหรับใช้กับรถบ้าน, ติดตั้งสำหรับแคมป์ปิ้ง หรือติดตั้งกับโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก ขนาด และ น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์นั้นมีความแตกต่างกัน ได้แก่

  • Monoเป็นแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งจะมีแรงดันไฟ 12 โวลต์ และ 24 โวลต์ แต่ขนาดที่นิยมนำมาใช้งานจะเป็นแผ่น 12V 300W และ 250W (แรงดันไฟ 12 โวลต์ 300 วัตต์ และ 250 วัตต์) จะมีขนาดประมาณ 150 x 70 เซนติเมตร โดยกำลังการผลิตจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นประเภทของแผง ขนาด และจำนวนแผงเซลล์ ซึ่งจะส่งผลทำให้กระแสไฟวิ่งที่ต่างกัน แต่หากมีการติดตั้งระบบและควบคุมที่ดี จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดประมาณ 4,500 หน่วยต่อปีเลยทีเดียว
  • Mono half-cell แผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ สำหรับบ้านและโรงงาน เป็นแผงที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าซึ่งจะเป็นแผงที่มีขนาด 300W ขึ้นไป ซึ่งมักจะเป็นแผงโซล่าเซลล์เกรด Tier 1 โดยส่วนมากจะนำมาติตั้งกับบ้าน หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูงตั้งแต่ 10 kw, 100kw, 1000kw – 10000kw ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้าได้มากตั้งแต่ 50-70% เลยทีเดียว

การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์

ในปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์ Solar Panel ที่ได้รับความสนใจมาด ดังนั้นเพื่อให้สามารถใช้งานได้แบบระยะยาว ควรพิจรณาถึงสิ่งต่างๆดังนี้

  1. เลือกแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับงาน
    ปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์ที่ได้รับความนิยมจะมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ Mono Crystalline และ Poly Crystalline ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่จะมีข้อต่างกันตรงที่การแปลงกระแสไฟฟ้า
  2. เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีสีกลมกลืนกับหลังคา
    การเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีสีเข้ม จะช่วยทำให้ดูกรมกลืนกับบนหลังคาของตัวอาคาร และทำให้หลังคาดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น
  3. ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต
    เพราะแผงโซล่าเซลล์จะต้องอยู่กับคุณไปอีกหลายสิบปี ดังนั้นความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตและการรับประกันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพแผงโซล่าเซลล์
  4. กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์
    เพื่อให้คำนวณและออกแบบระบบให้ถูกต้อง มีความคุ้มค่าในการใช้งาน จำเป็นต้องว่าแผงโซล่าเซลล์นั้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ Longi

แผงโซล่าเซลล์-ยี่ห้อ-Longi

LONGi Solar เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ที่สุดในโลก ที่ได้รับรางวัน Outdoor Yield ในปี 2019 จาก PV magazine มีให้เลือกตั้งแต่ Hi-MO1 – Hi-MO5 ซึ่งเป็นแผงแบบโมโนคริสตัลไลน์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นรุ่น HiMO5 ประเภท Mono-facial และ Bi-facial มีทั้ง 60 เซลล์ และ 72 เซลล์ เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 550 W

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ JA Solar

แผงโซล่าเซลล์ JA Solar

JA แผงโซล่าเซลล์ เป็นอีกแผงโซล่าเซลล์ที่มีสิทธิภาพสูงชั้นนำระดับโลก ด้วยรูปลักษณ์ที่เป็น Monoแผงเซลล์แสงอาทิตย์สีดำ มีจุดเด่นที่สามารถผลิต Mono PERC แบบ MBB ด้วยการผสมเทคโนโลยี PERC-SE เข้ากับเวเฟอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้แผงโซลาร์มีคุณภาพสูง มีให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ โดยมีกำลังผลิตสูงสุดอยู่ที่ 550W

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ Jinko Solar

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ Jinko Solar

แผงโซล่าเซลล์ Jinko ได้รับควานิยมใช้งานกันทั่วโลก เพราะผลิตโดยบริษัทชั้นนำระดับโลกสัญชาติจีน วัสดุ monocrystalline ซึ่งมีให้เลือกหลายรุ่น โดยมีกำลังการผลิตตั้งแต่ 280W – 610W ให้สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการติดตั้ง

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ KANTO Solar

แผงโซล่าเซลล์ KANTO วัสดุโมโนคริสตัลไลน์ กำลังไฟฟ้า 340W วัสดุทำจาก Monocrystalline ที่ได้รับความนิยมนำมาติดตั้งทั้งโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท๊อปเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในการผลิต มีระยะเวลาการคืนทุนเฉลี่ย 15-25% ต่อปี

ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์

  • เป็นอุปกรณ์การผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่มีความซับซ้อน สามารถติดตั้งได้ง่ายโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์สามารถใช้กับอุปกรณ์บางชนิดได้เลย โดยไม่ต้องแปลงกระแสไฟฟ้า
  • มีน้ำหนักเบาสามารถยกคนเดียวได้ จึงไม่ยุ่งยากในการขนย้าย
  • มีความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • มีต้นทุนที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีอื่น

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์

  • หากแผงมีฝุ่นหรือเงามาบดบังแสงแดดจะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ลดลง
  • มีโอกาสชำรุดเสียหายแตกหักได้ ตั้งใช้ความระมัดระวังและความเชี่ยวชาญในการติดตั้ง

ระบบการใช้งานของ แผงโซล่าเซลล์ (Solar panel)

1.ระบบออนกริด (On Grid System)

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ทำงานร่วมกับการระบบไฟฟ้าปกติภายในบ้าน โดยการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ซึ่งจะมีแผงโซลาร์เซลล์ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วส่งต่อไปที่ Grid Tie Inverter ซึ่งจะแปลงกระแสไฟฟ้า จาก ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในบ้านเรือนเช่น ทีวี, พัดลม, ตู้เย็น, แอร์, เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆได้ตามปกติ โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำหรับเก็บกระแสไฟ จึงเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำกว่า เหมาะสำหรับการติดตั้งที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรมที่กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าถึง

2.ระบบออฟกริด (Off Grid System)

เป็นระบบที่แผงโซล่าเซลล์แบบสมบูรณ์ โดยแผงโซล่าเซลล์ที่รับพลังงานมาจะส่งกระแสไฟฟ้าต่อไปยังคอนโทรลชาร์จ เพื่อชาร์จเข้าแบตเตอรี่ไปกักเก็บไว้ จากนั้นเมื่อต้องการใช้งานกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งต่อไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงกระแสไฟและแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งต่างจากระบบ On Grid System ตรงที่ไม่มีการเชื่อมกับการไฟฟ้าเลย ทำให้ต้องคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้ามให้เหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น

  • แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell Panel) มีหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนจะส่งต่อไปยังโซล่าชาร์จเจอร์
  • โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charge Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ก่อนไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์จะถูกส่งต่อไปชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่
  • แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้า จากที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตได้ในแต่ละวัน
  • อินเวอร์เตอร์ (Power Inverter) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ได้จากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป
    ดังนั้นจึงทำให้ระบบ Off Grid System มีต้นทุนที่สูงกว่าระบบ On Grid System นั่นเอง

วิธีการคำนวณหาขนาดของแผงโซล่าเซลล์

คุณสามารถคำนวนหาขนาดของแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านได้ง่ายๆดังนี้

สูตร : วัตต์ (ดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้า) × จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า × การใช้งานกี่ ชม. ต่อวัน = ปริมาณการใช้ไฟฟ้า

ยกตัวอย่างเช่น

  • มีตู้เย็น 12 คิว 165W 2 เครื่อง ใช้งานวันละ 24 ชั่วโมง
  • มีหลอดไฟ 10W 3 หลอด ใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง
  • มีเครื่องปรับอากาศ 9,000 BTU 680W 2 เครื่อง ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
  • มีเครื่องซักผ้า ขนาด 6 kg. 320 W 1 เครื่อง ใช้งานวันละ 1 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ

ตู้เย็น 165X2X24 = 7,920W
หลอดไฟ 10x3x6 = 180W
เครื่องปรับอากาศ 680X2X3 = 4,080
เครื่องซักผ้า 320X1X1 320W

รวม 7,920+180+4,080+320 = 12,500W ซึ่งตัวเลขนี้จะถูกนำไปคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์ ขนาดขนาดคอนโทรลชาร์จ ขนาดอินเวอร์เตอร์ และขนาดแบตเตอรี่ ให้มีความเหมาะสมต่อไป

อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์จะมีอายุการใช้งานราว 25 – 30 ปี โดยจะมีกำลังการผลิตที่สามารถส่งออกพลังงานได้ประมาณ 90% ในช่วง 10 ปีแรกและสามารถผลิตไฟฟ้าและส่งออกพลังงานประมาณ 80% ตลอด 25-30 ปี

คำถามที่พบบ่อย

สรุป

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนามีเทคโนโลยีแผงโซล่าร์เซลล์ (PV Solar Panel) ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและราคาที่ต่ำลง โดยแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมนำมาใช้ในงานผลิตไฟฟ้าบนหลังคาในปัจจุบันด้วยกัน 2 ชนิด คือ Monocrystalline และ แผง Polycrystalline แต่ที่ถูกนำมาใช้ในการติดตั้งสำหรับบนหลังคาที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน โรงเรียน จะนิยมใช้แผงชนิด Mono เนื่องจากใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ทำให้ติดตั้งแผงได้มากเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น

 สำหรับผู้ที่มีคำถามและข้อสงสัยอื่นๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก NK Solar Group โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านทาง Facebook Messenger หรือ AddLine ได้เลย ช่างที่ดูแลและติดตั้งระบบตอบเอง

อ้างอิงจาก